Archives พฤษภาคม 2022

อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการดำน้ำ สำหรับใครที่สนใจและต้องการเริ่มต้นทำกิจกรรมดำน้ำแล้วล่ะก็ นอกเหนือจาก

อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการดำน้ำ

อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการดำน้ำ

สำหรับใครที่สนใจและต้องการเริ่มต้นทำกิจกรรมดำน้ำแล้วล่ะก็ นอกเหนือจากจะต้องฝึกฝนทักษะต่างๆให้ดีแล้ว การศึกษาเรื่องอุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำ แต่ละประเภท รวมไปถึงวิธีการใช้งานที่ถูกต้องนั้น ก็ถือได้ว่ามีความจำเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในแบบพื้นฐานแล้ว อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการดำน้ำในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น Dry suit ก็ถือได้ว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน

อุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยงเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการดำน้ำ

ทั้งนี้เป็นเพราะในแหล่งน้ำแต่ละที่นั้น ย่อมมีความแตกต่างทางด้านสภาพแวดล้อม และอาจจะจำเป็น ต้องใช้อุปกรณ์แบบพิเศษให้เหมาะสม เพื่อเหตุผลทางด้านความสะดวกและความปลอดภัย โดยในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ป้องกันความเสี่ยง เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการดำน้ำในแบบพิเศษเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งตัวผู้อ่านเองก็อาจจะได้ใช้ในอนาคต นั่นก็คือ ชุดสำหรับการดำน้ำอีกหนึ่งรูปแบบที่เรียกว่า Dry suit นั่นเอง

โดยทั่วไปแล้ว ชุดสำหรับการดำน้ำ สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Wetsuit ที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน และ Dry suit ที่เป็นชุดสำหรับใส่ดำน้ำแบบพิเศษเฉพาะในบางพื้นที่ หรือบางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนักดำน้ำหลายคน อาจจะไม่คุ้นกับชุดดังกล่าว เพราะ Dry suit นั้น ไม่เหมาะกับการใช้สำหรับการดำน้ำในพื้นที่แหล่งน้ำของประเทศไทย ซึ่งชุดดำน้ำแบบ Dry suit นั้น เป็นชุดที่เมื่อใส่ดำลงไปในน้ำแล้ว จะไม่ทำให้เปียก จึงเหมาะกับ การดำน้ำในพื้นที่หรือแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาลงมา เพราะตัวชุดนั้นจะถูกตัดเย็บด้วยวัสดุที่มีฉนวนในการทำหน้าที่กักเก็บความร้อนเอาไว้ภายในไม่ให้ถ่ายเทออกมา โดยทั่วไปแล้วจะมีความหนา ของตัวชุดอยู่ที่ประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จึงกล่าวได้ว่า ชุดดำน้ำแบบ Dry suit นั้น คือชุดสำหรับใส่ดำน้ำ ในพื้นที่ ที่มีอากาศหนาวเย็น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับร่างกายนั่นเอง

ในส่วนของการดูแลรักษา ชุดดำน้ำแบบ Dry Suit นั้น หลังจากสวมใส่แล้ว ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และใช้วิธีการแขวนเก็บในพื้นที่ สำหรับเก็บชุดโดยเฉพาะ โดยไม่ควรแขวนปะปนกับชุดหรือเสื้อผ้าชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้ไม่ควรพับให้ชุดสูญเสียรูปทรง หรือหักงอจนเสียหาย นอกจากนี้ อีกส่วนสำคัญ นั่นก็คือ การดูแล ส่วนของซิปให้มีความหล่อลื่นและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมออีกด้วย


Weight System ในการดำน้ำลึกหรือการดำน้ำ แบบ SCUBA นั้น เป็นรูปแบบการดำน้ำที่ตัวผู้ดำน้ำเอง จะดำลงไปในน้ำที่มีความลึกโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ

Weight System

Weight System

ใน การดำน้ำลึก หรือ การดำน้ำ แบบ SCUBA นั้น เป็นรูปแบบการดำน้ำที่ตัวผู้ดำน้ำเอง จะดำลงไปในน้ำที่มีความลึกโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการดำน้ำมาเป็นตัวช่วยเพื่ออำนวยความสะดวกในการหายใจและการเคลื่อนที่  ทำให้สามารถประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ขณะที่อยู่ใต้น้ำได้อย่างง่ายดายและอิสระนั่นเอง

ทั้งนี้นอกเหนือจากการฝึกซ้อมและพัฒนา ทักษะต่าง ๆ ในการดำน้ำอยู่เป็นประจำแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ๆ ที่จะช่วยให้การดำน้ำเป็นไปได้ด้วยดีและปลอดภัย นั่นก็คือ การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใช้ในระหว่างการดำน้ำให้ดี ทั้งนี้สำหรับนักดำน้ำมือใหม่หลายๆคน ที่ยังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่นั้น ในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับอีกหนึ่ง อุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำ ที่สำคัญซึ่งจะช่วยให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในระหว่างกานดำน้ำ นั่นก็คืออุปกรณ์ที่มีชื่อว่า ตัวถ่วงน้ำหนัก หรือ Weightsystem นั่นเอง

Weightsystem คืออะไร?

สำหรับอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Weightsystem หรือตัวถ่วงน้ำหนักนั้น ไปไหนคุณมักจะนิยมใช้งานในรูปแบบของเข็มขัดตะกั่ว ทั้งนี้เป็นเพราะในความเป็นจริงแล้ว ตัวของนักดำน้ำนั้น ไม่สามารถดำรงไปใต้น้ำได้ ด้วยร่างกายและอุปกรณ์เท่านั้น  ดังนั้น อุปกรณ์ถ่วงน้ำหนัก หรือว่า System จึงจำเป็นจะต้องเข้ามา เป็นส่วนสำคัญ ในการช่วยให้ตัวนักดำน้ำนั้น สามารถจมลงไปใต้น้ำได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการทำ Weightsystem มากที่สุดนั่นก็คือก้อนตะกั่ว นั่นเอง

รูปแบบของ Weightsystem

ในส่วนรูปแบบของ อุปกรณ์ Weightsystem นั้น โดยทั่วไปแล้วผู้คน มักนิยมก้อนตะกั่วที่มีขนาดและน้ำหนักแตกต่างกันออกไป แต่ทว่ารูปแบบการทำ Weight System ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันนี้ ก็คือการนำก้อนตะกั่วมาเย็บร้อยเรียงรวมกัน ให้กลายเป็นเข็มขัดคาดเอวสำหรับใส่ดำน้ำ ซึ่งสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า Weight Belt นั่นเอง

น้ำหนักของ Weightsystem

โดยทั่วไปเฉลี่ยแล้วน้ำหนักของ เข็มขัด WaySystem หรือ Weight Belt ที่นักดำน้ำนิยมใช้กันมากที่สุดนั้น จะอยู่ที่ค่าเฉลี่ยประมาณ 1 กิโลกรัม หรือ 2 ปอนด์

ทั้งนี้สำหรับการใช้งาน Weightsystem ที่อยู่ในรูปแบบของ เข็มขัดตะกั่ว หรือ Weight Belt นั้น นอกเหนือจากที่จะต้องคำนึงถึงขนาด น้ำหนักตัวของแต่ละคนให้พอดีแล้ว อีก 1 หัวใจสำคัญของ Weightsystemหรือ Weight Belt นั่นก็คือ ผู้ใช้งานจะต้องปลดออกได้โดยง่าย ด้วยการใช้มือเพียงข้างเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัยในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินและจำเป็นจะต้องลอยตัวขึ้นมาทันทีนั่นเอง


2nd Stage และ Alternate air source สำหรับอุปกรณ์ที่ อยู่ในกลุ่มตัวช่วยสำหรับการจัดแรงดันใต้น้ำ นับเป็นอีกหนึ่งส่วน ที่สำคัญ และเกี่ยวพัน

2nd Stage และ Alternate air source

2nd Stage และ Alternate air source

สำหรับอุปกรณ์ที่ อยู่ในกลุ่มตัวช่วยสำหรับการจัดแรงดันใต้น้ำ นับเป็นอีกหนึ่งส่วน ที่สำคัญ และเกี่ยวพันไปถึงชีวิตของนักดำน้ำ ได้เลยทีเดียว  โดยในวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ อุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำ อีก 2 ชิ้น ที่อยู่ในหมวดของชุดปรับแรงดัน (Regulator) ซึ่งได้แก่ 2nd Stageและ alternate air source นั่นเอง

  1. 2nd Stage

สำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้ สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  Primary Air Source  ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ จะเป็นตัวทำหน้าที่ในการจ่ายและส่งอากาศสำรองให้กับนักดำน้ำได้คาบเอาไว้ เพื่อใช้หายใจขณะที่อยู่ใต้น้ำ โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้ จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่เรียกว่า 1st Stage นั่นเอง ทั้งนี้ สำหรับ 2nd Stage หรือ Primary Air Source ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ส่งจ่ายอากาศสำรอง ที่ทำหน้าที่สำคัญมากที่สุดอีกชิ้นหนึ่ง ในอุปกรณ์หมวดหมู่การปรับแรงดัน หรือ Regulator เลยทีเดียว

2nd Stage และ Alternate air source

 

  1. Alternate Air Source

สำหรับอุปกรณ์ชนิดนี้ สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า Octopus  ซึ่งอุปกรณ์ชิ้นนี้ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการจ่ายอากาศสำรอง ให้กับนักดำน้ำได้ใช้ในการหายใจ ในขณะที่อยู่ใต้น้ำนั่นเอง โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ชนิดนี้มักนิยมทำออกมาให้มีสีเหลือง เพื่อให้สามารถมองเห็นได้โดยง่าย ทั้งนี้อุปกรณ์ชิ้นนี้จะทำหน้าที่ ในการเชื่อมต่อร่วมกันกับตัว 1st Stage นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้อุปกรณ์เหล่านี้จะมีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ชิ้นอื่น แต่ทว่าในเรื่องของความสำคัญและหน้าที่แล้ว  ได้แก่ 2nd Stageและ alternate air source นี้ ก็จัดได้ว่ามีความสำคัญไม่เป็นสองรองอุปกรณ์ใดเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากอุปกรณ์ 2 ชิ้นนี้แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่ในชุดปรับแรงดันหรือ Regulator อีก 3 ชิ้นที่จะต้องทำงานร่วมกัน ได้แก่

– 1st Stage

– สาย Low pressure

– มาตรวัดความดันอากาศ หรือ Pressure gauge

ซึ่งแต่ละชิ้นนั้น ก็ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการใช้งาน ในขณะที่นักดำน้ำต้องอยู่ใต้น้ำเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ทั้งนี้เป็นเพราะอุปกรณ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับการหายใจ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทุก ๆ คนนั่นเอง


DepthGauge สำหรับอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับนักดำน้ำแล้ว นอกเหนือจาก ชุดที่ใช้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยทรงตัว, รวมไปถึงอุปกรณ์ช่วยในการ

DepthGauge

DepthGauge

สำหรับอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับนักดำน้ำแล้ว นอกเหนือจาก ชุดที่ใช้สวมใส่อุปกรณ์ช่วยทรงตัว, รวมไปถึงอุปกรณ์ช่วยในการหายใจ  อีก ส่วนประกอบ 1 หนึ่ง ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากไม่แพ้กัน ซึ่ง อุปกรณ์ชิ้นนี้ จะคอยช่วยบอกระดับความลึกของน้ำที่ดำอยู่ในบริเวณนั้น ให้แก่ตัวนักดำน้ำได้ทราบแบบเรียลไทม์ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว นั่นก็คือ เจ้าอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Depth Gauge หรือ เครื่องวัดความลึกในการดำน้ำ นั่นเอง

สำหรับเครื่องวัดความลึกในการดำน้ำหรือ Depth Gauge ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่นักดำน้ำจำเป็นจะต้องมีติดตัวไว้ เพื่อให้สามารถรับรู้ได้ว่า ในจุดที่อยู่ปัจจุบันมีความลึกของในอยู่ในระดับใด ซึ่งวัตถุประสงค์ของการใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ นอกเหนือจากในเรื่องของความปลอดภัยแล้ว Depth Gauge

ยังช่วยให้ตัวนักดำน้ำสามารถคำนวณปริมาณของอากาศออกซิเจนที่มีอยู่ในถัง ณ เวลานั้น ได้ตรงกับระยะเวลาที่จะใช้งานได้อย่างเหมาะสมและพอดี  อุปกรณ์ชนิดนี้ มักถูกออกแบบมาให้สามารถเรืองแสงได้ เพื่อให้เรานักดำน้ำสามารถมองเห็นหรืออ่านค่า ได้อย่างชัดเจนในพื้นที่แสงน้อยขณะอยู่ใต้น้ำลึก

ในด้านของการทำงาน โดยส่วนใหญ่แล้วมาตรวัดความลึกในการดำน้ำ หรือ Depth Gauge นั้น มักนิยมต่อควบคู่ไปกับตัวมาตรวัดความดันอากาศ  หรือ Pressure Gauge  หากนักดำน้ำอุปกรณ์ชนิดที่เรียกว่าตัว Dive Computer แล้ว ก็อาจจะลดตัว Pressure Gauge  ออกไปแล้ว เหลือตัว Depth Gauge เอาไว้ใช้ บอกระดับแรงดันและความลึกของน้ำเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจาก ตัวเครื่องวัดความลึกในการดำน้ำ หรือ DepthGauge จะ เป็นการทำงานเชื่อมต่อผ่านสาย Low pressure และ มาตรวัดความดันอากาศ หรือ Depth Gauge แล้ว ปัจจุบันอุปกรณ์ดังกล่าวยังถูกออกแบบให้มีดีไซน์แปลกใหม่ ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างอิสระและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยการทำรูปทรงของตัว Depth Gauge ให้มาอยู่ในฟังชั่นหนึ่งของนาฬิกาข้อมือ ทั้งนี้ที่เหลือก็ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับตัวของผู้ใช้งาน ว่าจะมีความสนใจหรือต้องการใช้งานอุปกรณ์วัดความลึกในการดำน้ำ หรือตัว Depth Gauge ที่มี Design หรือฟังก์ชันการใช้งานแบบไหนนั่นเอง


ธงดำน้ำ - ที่จำเป็นในท้องถิ่น สำหรับนักดำน้ำมืออาชีพหลายๆคนนั้น แน่นอนว่าคงจะเคยเห็นหรือผ่านตากับธงสัญลักษณ์ที่มีสีแดงและคาดด้วยแถบสีขาว

ธงดำน้ำ – ที่จำเป็นในท้องถิ่น

ธงดำน้ำ – ที่จำเป็นในท้องถิ่น

สำหรับนักดำน้ำมืออาชีพหลายๆคนนั้น แน่นอนว่าคงจะเคยเห็นหรือผ่านตากับธงสัญลักษณ์ที่มีสีแดงและคาดด้วยแถบสีขาว รวมไปถึงธงสีฟ้าขาว วางขายเอาไว้อยู่ในร้านอุปกรณ์สำหรับการดำน้ำทั่วไป ในหลายๆพื้นที่ ซึ่งถึงแม้จะเคยเห็นอยู่บ่อยครั้งแต่อาจจะยังไม่รู้ว่าธงเหล่านี้ ทำหน้าที่อะไรหรือมีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับการดำน้ำ โดยในวันนี้เราจะพาผู้อ่านทุกท่านมาทำความรู้จักกับที่มาของธงดำน้ำทั้งสองแบบนี้ให้มากขึ้น

สำหรับธงดำน้ำนั้น ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำ และเป็นอุปกรณ์ที่ผู้สอนดำน้ำและผู้ช่วยต้องมีเพิ่มเติมจากอุปกรณ์มาตรฐานอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวก และสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับบริเวณที่มีการดำน้ำอยู่ ณ เวลานั้น ๆ นั่นเอง

โดยทั่วไปแล้วธงดำน้ำที่จำเป็นในท้องถิ่นต่าง ๆ นั้น มักนิยมใช้ทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. ธงดำน้ำแบบสีแดงที่มีแถบสีขาว

เริ่มใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากกองทัพเรือธงชนิดนี้ ได้รับการยอมรับและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในแถบสหรัฐอเมริกาไปจนถึงประเทศแคนาดา นอกจากนี้ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเอง ก็มีการติดธงเหล่านี้เพื่อเตือน เรือสัญจรต่าง ๆ ในท้องทะเลเช่นเดียวกัน

  1. ธงดำน้ำแบบที่มีสีขาวและสีฟ้าอยู่บนผืนธง

ที่มีรูปแบบและแรงบันดาลใจมาจากส่งของ Alpha ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณต่าง ๆ ในท้องทะเลมาอย่าง   ยาวนานมากกว่า 200 ปี นั่นเอง

โดยทั้งสองแบบนี้ ถึงแม้ว่าจะมีลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่ทว่าวัตถุประสงค์ในการใช้นั้นเหมือนกันนั่นก็คือ การส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้กับเรือ ต่าง ๆ ที่สัญจรไปมาได้ทราบว่าบริเวณดังกล่าวมีนักดำน้ำอยู่ใต้น้ำนั่นเอง


อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD) สำหรับอุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำที่เรียกว่า BCD นั้น  มีชื่อเรียกเต็ม ๆ อย่างแท้จริง ว่า Bouyancy Compensator Device

อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)

อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)

สำหรับอุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำที่เรียกว่า BCD นั้น  มีชื่อเรียกเต็ม ๆ อย่างแท้จริง ว่า Bouyancy Compensator Device ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ สามารถให้คำนิยามได้ง่ายๆก็คือ อุปกรณ์ประเภทถุงลม ที่ช่วยให้นักดำน้ำสามารถลอยตัวหรือประคองตัวอยู่ในระดับต่าง ๆ ภายใต้น้ำได้อย่างสะดวกและง่ายดายมากขึ้น โดยใช้หลักการหักล้างของน้ำหนักตัวและน้ำหนักลมภายใน BCD เพื่อทำให้ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก จนสามารถลอยตัวใต้น้ำได้อย่างอิสระ นั่นเอง

อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)

ประเภทของอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว หรือ BCD

ปัจจุบันประเภทของอุปกรณ์ชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยการ ได้แก่

  1. อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท Jacket or Vest Style BCDs

สำหรับอุปกรณ์โรยตัวประเภทนี้ มีรูปทรงคล้ายกับชื่อ นั่นคือ หน้าตาเหมือนกับเสื้อแจ็คเก็ตแบบแขนสั้นที่สวมใส่กันทั่วไปบนบกนั่นเอง โดยอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)  ประเภทนี้ จะมีการซ่อนถุงลมเอาไว้ภายในของตัวแจ็คเก็ต ซึ่งจะกระจายถุงลมล้อมรอบตัวผู้สวมใส่เอาไว้ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในปัจจุบันอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ จัดเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยทีเดียว

  1. อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท FRONTADJUSTABLE Style

สำหรับอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ จะมีความเหมือนหรือคล้ายกับประเภทที่ 1 โดยมีรูปทรงคล้ายกับเสื้อแจ็คเก็ต  เพียงแต่ FRONT-ADJUSTABLE Style นี้ จะมีถุงลมอยู่แค่เพียงบริเวณด้านหน้าของลำตัวเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการคิดค้นต่อยอดขึ้นมาจากประเภทที่ 1 ทำให้สามารถปรับขนาดและรูปทรงให้เข้ากับสรีระผู้ใช้งานได้มากขึ้นนอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันจากผู้ใช้งานจริง เป็นเสียงเดียวกันว่า อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท FRONT-ADJUSTABLE Style นั้น มีความเบาบาง และ สามารถควบคุมการลอยตัวได้เสถียรกว่าแบบแรก เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

  1. อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท Back Mounted หรือ Wing Style

สำหรับอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ มีรูปแบบตรงกันข้ามกับในประเภทที่ 2 นั่นก็คือ จะมีถุงลมที่ช่วยในการลอยตัวเฉพาะบริเวณด้านหลังของตัว BCD ที่สวมใส่ นั่นเอง โดย จุดแข็งของอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท Back Mounted หรือ Wing Style นี้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเบาสบาย ทั้งยังรู้สึกคล่องตัวเมื่อเคลื่อนที่ใต้น้ำมากกว่าแบบอื่น ๆ อีกด้วย


ตีนกบและหน้ากากดำน้ำ แม้ว่าการดำน้ำนั้น จะดูเป็นกิจกรรมที่น่าสนุกและน่าสนใจมากเพียงใด แต่ทว่ากิจกรรมนี้ ก็ถือเป็นกิจกรรมที่จำเป็น

ตีนกบและหน้ากากดำน้ำ

ตีนกบและหน้ากากดำน้ำ

แม้ว่า การดำน้ำ นั้น จะดูเป็นกิจกรรมที่น่าสนุกและน่าสนใจมากเพียงใด แต่ทว่ากิจกรรมนี้ ก็ถือเป็นกิจกรรมที่จำเป็นจะต้องอาศัยทักษะและความสามารถเฉพาะตัวพอสมควรเลยทีเดียว และไม่เพียงเท่านั้น นอกเหนือจากทักษะที่ต้องมีแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำน้ำ ก็ถือว่ามีความสำคัญ และจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีสำหรับการใช้งาน โดยในวันนี้เราจะมาแนะนำอุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำ 2 ชนิด ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จะขาดไปไม่ได้เลยทีเดียว ซึ่งทั้ง 2 อุปกรณ์พื้นฐานนั้นได้แก่ ตีนกบและหน้ากากดำน้ำ นั่นเอง

  1. หน้ากากดำน้ำ (Mask)

ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญเพราะเป็นตัวช่วยในการทำให้ผู้ดำน้ำ สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายในใต้น้ำได้อย่างชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยปกป้องดวงตาจากสิ่งสกปรกที่มาอยู่ในน้ำทะเล ได้อีกด้วยโดยหน้ากากดำน้ำนั้น ปัจจุบันถูกผลิตออกมาให้เลือกหลากหลายแบบด้วยกัน ทั้งนี้จึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะต้องการใช้งานหน้ากากดำน้ำแบบไหนให้ตรงกับ Lifestyle และประเภทการดำน้ำของตัวเองมากที่สุด

  1. ตีนกบ (Fin)

จะได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญสำหรับนักดำน้ำทุกคน โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่าตีนกบนั้น มีเอาไว้เพื่อช่วยเพิ่ม และส่งแรงให้กับผู้ดำน้ำสามารถขึ้นที่ ภายใต้น้ำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน รูปแบบของตีนกบที่ถูกผลิตออกมาวางขายนั้น มีให้เลือกมากมาย และมีรูปทรงหรือน้ำหนักที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องเลือกรูปแบบของตีนกบให้เหมาะสม เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ภายในน้ำอย่างสะดวกสบาย และไม่สร้างภาระให้กับตนเอง

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจาก 2 อุปกรณ์พื้นฐานที่กล่าวถึงไปข้างต้นแล้ว ยังคงมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำน้ำอีกมากมาย ซึ่งผู้ที่สนใจใน กิจกรรมการดำน้ำ นั้น จำเป็นจะต้องศึกษา รายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี ทั้งนี้ก็เพื่อให้การทำงานของคุณนั้น เป็นไปอย่างสะดวกสบายและปลอดภัยนั่นเอง


รีวิวตีนกบรุ่น Seac Motus Italian Design Long Blade Fin อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากๆสำหรับนักดำน้ำแบบ Freediving นั่นก็คือ ฟินนั่นเอง

รีวิวตีนกบรุ่น Seac Motus Italian Design Long Blade Fin

รีวิวตีนกบรุ่น Seac Motus Italian Design Long Blade Fin

อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากๆสำหรับ นักดำน้ำแบบ Freediving นั่นก็คือ ฟิน นั่นเอง โดยฟินประเภทนี้จะแตกต่างจากฟินสำหรับ Snorkeling และ Scuba ก็ตรงที่ความยาวของฟินที่จะยาวกว่าประมาณ 2 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งฟินที่เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกันในวันนี้นั่นก็คื Seac Motus Italian Design Long Blade Fin ซึ่งเป็น แบรนด์ Italian ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงสำหรับผู้ที่ชื่นชอบ การดำน้ำ เพื่อการล่าสัตว์น้ำหรือแม้กระทั่งการดำน้ำเพื่อความสนุกสนานแบบ Freediving ธรรมดาๆก็ได้เช่นเดียวกัน

เนื่องจากใบฟินนี้จะทำมาจาก Technopolymer ที่มีความยืดหยุ่นและเเข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก และสามารถเปลี่ยนเบลดของใบฟินได้ โดยคุณจะเปลี่ยนเบลดฟินให้เป็นคาร์บอน หรือว่าไฟเบอร์ก็ได้ และจากการที่ได้ทดลองใช้งานก็ต้องบอกว่านี่เป็นฟินที่สามารถตีน้ำได้อย่างดีเยี่ยม สามารถตีน้ำเพือดำลงไปใต้น้ำได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คุณสามารถเคลื่อนไหวใต้น้ำได้อย่างอิสระด้วยเช่นเดียวกัน

คุณสมบัติของ Seac Motus Italian Design Long Blade Fin

ประเภท : Freediving Fins

วัสดุ : Technopolymer

รูปแบบ : Foot Pocket

ความยาวสูงสุด : 37.5 นิ้ว

ขนาด : 37.5 x 18 x 12.5 inches

ราคา : 4,300 บาท

ข้อดีของ Seac Motus Italian Design Long Blade Fin

– เป็นฟินที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก และมีความยืดหยุ่นที่สูง

– มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

– สามารถตีน้ำได้อย่างดีเยี่ยม

– สามารถเปลี่ยนเบลดใบฟินได้

– มีราคาที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับฟินประเภทอื่นๆ


ถังอากาศและวาล์ว (Tanks / Valves) สำหรับใครที่ชื่นชอบในการทำกิจกรรมดำน้ำอยู่เป็นประจำแล้วก็ เชื่อว่าทุก ๆ คนนั้น จะต้องรู้จักอุปกรณ์มาตรฐาน

ถังอากาศและวาล์ว (Tanks / Valves)

ถังอากาศและวาล์ว (Tanks / Valves)

สำหรับใครที่ชื่นชอบในการทำกิจกรรมดำน้ำอยู่เป็นประจำแล้วก็ เชื่อว่าทุก ๆ คนนั้น จะต้องรู้จักอุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำที่สำคัญ อย่าง ถังอากาศและวาล์ว หรือ Tanks and Valves แน่นอน โดยอุปกรณ์ชนิดนี้ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ชิ้นสำคัญมาตรฐาน สำหรับนักดำน้ำทุกคนที่จะต้องมี ทั้งนี้สามารถกล่าวได้ว่าอุปกรณ์ อย่าง ถังอากาศและวาล์ว (Tanks / Valves) นั้น มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตของนักดำน้ำได้เลยทีเดียว

หน้าที่ของถังอากาศและวาล์ว (Tanks /Valves)

ถังอากาศและวาล์ว (Tanks /Valves) นั้น จัดเป็นอุปกรณ์สำหรับการดำน้ำ ที่จะมีหน้าที่ในการช่วยอำนวยความสะดวก สำหรับการหายใจขณะดำน้ำอยู่ใต้ทะเลหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ  ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้ว ทางอากาศระหว่างนั้นจะนิยมใช้กับการดำน้ำ ในแบบ scuba diving มากกว่าแบบ Snorkelling ที่เป็นการดำบริเวณผิวน้ำ นั่นเอง

ปัจจุบันถังอากาศและวาล์ว ที่นิยมใช้กันทั่วไปนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน ตามวัสดุที่ใช้ทำตัวถังอากาศนั่นเอง ได้แก่

  • ถังอากาศที่ทำมาจากเหล็ก (Steel Alloy Tank)
  • ถังอากาศที่ทำมาจากเหล็ก (Aluminum Alloy Tank)

ทั้งนี้ถังอากาศ แต่ละแบบนั้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เรื่องน้ำหนัก ความจุ ความสะดวกในการใช้งาน รวมไปถึงความแข็งแรงในการรับแรงดันใต้น้ำ

ความจุของถังอากาศ

สำหรับถังอากาศและวาล์วสำหรับการดำน้ำนั้น ถูกผลิตออกมาวางขายหลายขนาดและความจุด้วยกัน ซึ่งไม่สามารถระบุมาตรฐานหรือความจุได้อย่างชัดเจน  ทั้งนี้นักน้ำจึงจำเป็นจะต้องเลือกให้ความของถังอากาศให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่จะใช้ รวมไปถึงระดับความลึกของน้ำที่จะดำลงไป นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันนอกเหนือจากก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในถังอากาศ สำหรับการดำน้ำแล้ว ผู้ผลิตยังได้มีการคิดค้นสารชนิดพิเศษ อย่างเช่น Enriched Air Nitrox ผสมเข้าไปในถังร่วมด้วย เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานมาขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากความจุที่ถูกระบุเอาไว้บนอากาศแล้ว ในสถานการณ์จริงยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลต่อระยะเวลาการใช้งาน สำหรับถังอากาศและวาล์วได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระดับความลึกของน้ำ , ระดับความแรงของคลื่นลม, อัตราความถี่ของระดับการหายใจ นอกจากนี้ประสบการณ์ในการดำน้ำเอง ก็ยังสามารถส่งผลต่อระยะเวลาในการใช้งานของถังอากาศ ได้อีกด้วย