6 อุปกรณ์สำคัญในการปีนผา

6 อุปกรณ์สำคัญในการปีนผา

6 อุปกรณ์สำคัญในการปีนผา   ร่างกายพร้อม อุปกรณ์ก็ต้องพร้อม!

 

6 อุปกรณ์สำคัญในการปีนผา

 

สำหรับกีฬา Extreme ที่ได้รับความนิยมตลอดกาลในไทยคงหนีไม่พ้นการปีนหน้าผา ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนกีฬาประเภทนี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะนอกจากจะเป็นการออกกำลังกายไปในตัวแล้ว ยังเป็นการฝึกความท้าทายให้กับตัวเองอีกด้วย เนื่องจากการปีนผาในแต่ละสถานที่นั้นมีระดับความง่ายและยากแตกต่างกันออกไป ดังนั้นนอกจากเราจะต้องฟิตร่างกายให้พร้อมแล้ว ก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้ครบและคอยตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์อยู่เสมอ และนี่ก็คืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปีนผาที่เราต้องรู้

  1. เชือกปีนเขา

การเล่นกีฬา Extreme อย่างการปีนผานั้น เชือกปีนเขาเป็นอุปกรณ์ที่เราจะขาดไม่ได้เลย เพราะนอกจากจะเป็นตัวช่วยยึดให้เราสามารถปีนผาได้ง่ายยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันแรงกระแทกได้อีกด้วย หากเราลื่นหรือตกลงมายังด้านล่าง โดยความยาวของเชือกปีนเขาที่เราควรเตรียมไว้ได้แก่ ความยาว 40, 50 และ 60 เมตรด้วยกัน

 

 

  1. รองเท้า

การปีนผาที่เป็นหินปูนและมีมุมหรือช่องเล็ก ๆ เยอะนั้น การเลือกใช้รองเท้าปีนผาโดยเฉพาะจะช่วยทำให้เราสามารถลดอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างปีนผา และยังเป็นการช่วยเซฟเท้าไม่ให้โดนหินบาดอีกด้วย

 

  1. ผงชอล์ค

               เรียกได้ว่าผงชอล์คเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเล่นกีฬา Extreme ประเภทปีนผาเลยทีเดียว เนื่องจากผงชอล์คจะช่วยลดความลื่นของมือขณะปีนผาได้ ซึ่งสำหรับใครที่เวลาปีนผาเหงื่อออกมือเยอะ ๆ ยิ่งจำเป็นจะต้องใช้ผงชอร์คช่วยเลยค่ะ (และที่สำคัญห้ามลืม! พกถุงใส่ชอล์คกันไปด้วยนะ)

  1. อาร์เนส

               สายรัดสะโพก หรือสายรัดนิรภัย อุปกรณ์การปีนผาที่สามารถปรับให้เข้ากับสรีระร่างกายของผู้ปีนแต่ละคนได้ เพื่อช่วยรับน้ำหนักของผู้ปีนขณะโรยตัวลงมานั่นเอง

 

 

  1. หมวกกันกระแทก

หมวกกันกระแทก เป็นอุปกรณ์ช่วยป้องกันอันตรายจากเศษหิน หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจจะตกลงมาได้ ขณะที่เรากำลังปีนผาหรือโรยตัวอยู่

  1. อุปกรณ์บีเลย์

อุปกรณ์บีเลย์ ใช้สำหรับการผ่อนเชือก และควบคุมความเร็วในการโรยตัวลงมาด้านล่าง

 

 

ประเภทของการปีนผาที่ควรรู้

ก่อนจะจบบทความนี้กันไป.. เราก็มีเรื่องน่ารู้ของประเภทการปีนผามาบอกกันด้วย สำหรับประเภทของการปีนผาสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

 

  1. Bouldering

Bouldering เป็นการปีนผาระยะสั้นโดยไม่ใช้อานและเชือก ซึ่งจะมีความสูงของหน้าผาประมาณ 3-4 เมตรเท่านั้น

  1. Sport Climbing

               Sport Climbing เป็นการปีนผาที่มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร โดยจะต้องมีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปีนเพื่อความปลอดภัย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Top Rope การปีนผาสำหรับมือใหม่ที่จะใช้เชือกช่วยดึงไม่ให้ผู้ปีนตกลงมาด้านล่าง และแบบ Lead Climbing เป็นการปีนผาที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความชำนาญแล้ว โดยจะต้องใช้เชือกและอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการปีนและโรยตัว

 

 

6 อุปกรณ์สำคัญในการปีนผา


 

ความเสี่ยงในการปีนหน้าผาจำลอง กีฬาผาดโผนแล้วอันตรายมักจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ (ถ้าหากคุณคุณเกิดความประมาท) รวมถึงกีฬาการปีนหน้าผาเช่นเดียวกัน

ความเสี่ยงในการปีนหน้าผาจำลอง

ความเสี่ยงในการปีนหน้าผาจำลอง

สำหรับการเล่นกีฬาผาดโผนทุกประเภทนั้นย่อมมีความเสี่ยงตามมาเสมอ เพราะเมื่อขึ้นชื่อว่ากีฬาผาดโผนแล้วอันตรายมักจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ (ถ้าหากคุณคุณเกิดความประมาท) รวมถึงกีฬาการปีนหน้าผาด้วยเช่นเดียวกัน ที่อาจจะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นคุณได้รับอันตรายเล็กน้อย หรืออาจจะได้รับบาดเจ็บสาหัสจนถึงแก่ชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นว่านี่เราจะมาลองดูกันว่าความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับกีฬาการปีนหน้าผานั้นมีอะไรกันบ้าง

อุปกรณ์

กีฬาการปีนหน้าผาต้องบอกเลยว่าเป็นกีฬาที่เราจะต้องใช้อุปกรณ์ที่เราสามารถเชื่อใจ และมั่นใจได้มากที่สุด โดยเฉพาะการปีนแบบที่ต้องใช้เชือกนั้นเรายิ่งต้องระวังให้มากเป็นพิเศษ แน่นอนว่าคำว่าชีวิตแขวนอยู่บนเชือกนั้นมีอยู่จริง หากเชือกขาดก็สามารถทำให้เราตกลงมากระแทกกับพื้นที่จนได้รับบาดเจ็บกันได้ เพราะฉะนั้นก่อนการปีนทุกครั้งคุณจะต้องมีการตรวจสอบสภาพของเชือกที่ใช้ให้ดีว่าไม่มีจุดที่ชำรุดเสียหาย กรอบ หรือขึ้นรา รวมถึงต้องมีการเชคสภาพการใช้งานโดยลองดึง ลองโหนในความสูงที่ไม่มากดูก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าเชือกยังสามารถใช้งานได้ดีจริงๆ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆอย่าง Harness ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆเช่นเดียวกัน เพราะคุณจะต้องตรวจดูว่ามีความแข็งแรงทนทาน และมีสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ รวมถึง ตะขอล็อคด้วยเช่นเดียวกันนะคะ

การผูกเงื่อน

แน่นอนว่าหากอุปกรณ์เราพร้อมทุกอย่าง แต่ว่าการผูกเงื่อนคุณหลงลืมขั้นตอนไป หรือผูกผิดวิธี หากมีอุปกรณ์ที่ดีที่สุดในโลกก็ไม่สามารถช่วยชีวิตคุณได้ เพราะฉะนั้นแล้วคุณจะต้องจดจำวิธีการผูกเงื่อนให้ขึ้นใจเลยว่าการเป็น Climber ต้องผูกอย่างไร ตำแหน่งเชือกต้องอยู่ตรงไหน การเป็น Belayer จะต้องเก็บเชือกอย่างไร ผูกเงื่อนเชือกติดกับตัวเราอย่างไร ซึ่งหากคุณผูกไม่ดีแล้วเชือกเกิดหลุดระหว่างการปีน เราก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ทันท่วงที และแน่นอนว่าเราจะต้องแก้ไขโดยการพลัดกันเช็คความปลอดภัยและความเรียบร้อยให้ Buddy ของเราก่อนทำการปีนทุกครั้งนะคะ เพื่อความปลอดภัย

ความไม่ประมาท

สำหรับการปีนหน้าผานั้นไม่ใช่เพียงแค่ Climber ที่จะต้องมีความระมัดระวังทุกอย่างก้าว และการเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่ Belayer เองก็ต้องมีสมาธิจดจ่อกับทุกสเตปในการปีนด้วยเช่นกัน การ Belay นั้นเรียกได้ว่าเป็นการ Support ผู้ที่ทำการปีน คุณจะต้องเป็นผู้ที่คอยปล่อยเชือก และค่อยๆปล่อยเชือกให้ผู้ปีนโรยตัวขึ้นมา หากคุรดึงเชือกเก็บเชือกผิดจังหวะ หรือถ้าหากคุณเผลอยกเชือกขึ้นให้อยู่ผิดตำแหน่งแล้วล่ะก็จะทำให้ผู้ที่กำลังทำการปีนนั้นตกลงมาและอาจจะได้รับบาดเจ็บได้ เพราะฉะนั้นจะต้องมีสติ มีสมาธิในทุกจังหวะของการปีน และการ Belay เลยทีเดียว

ความเสี่ยงในการปีนหน้าผาจำลอง