อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)

อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)

สำหรับอุปกรณ์มาตรฐานนักดำน้ำที่เรียกว่า BCD นั้น  มีชื่อเรียกเต็ม ๆ อย่างแท้จริง ว่า Bouyancy Compensator Device ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ สามารถให้คำนิยามได้ง่ายๆก็คือ อุปกรณ์ประเภทถุงลม ที่ช่วยให้นักดำน้ำสามารถลอยตัวหรือประคองตัวอยู่ในระดับต่าง ๆ ภายใต้น้ำได้อย่างสะดวกและง่ายดายมากขึ้น โดยใช้หลักการหักล้างของน้ำหนักตัวและน้ำหนักลมภายใน BCD เพื่อทำให้ร่างกายของเราอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก จนสามารถลอยตัวใต้น้ำได้อย่างอิสระ นั่นเอง

อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)

ประเภทของอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว หรือ BCD

ปัจจุบันประเภทของอุปกรณ์ชนิดนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยการ ได้แก่

  1. อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท Jacket or Vest Style BCDs

สำหรับอุปกรณ์โรยตัวประเภทนี้ มีรูปทรงคล้ายกับชื่อ นั่นคือ หน้าตาเหมือนกับเสื้อแจ็คเก็ตแบบแขนสั้นที่สวมใส่กันทั่วไปบนบกนั่นเอง โดยอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัว (BCD)  ประเภทนี้ จะมีการซ่อนถุงลมเอาไว้ภายในของตัวแจ็คเก็ต ซึ่งจะกระจายถุงลมล้อมรอบตัวผู้สวมใส่เอาไว้ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในปัจจุบันอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ จัดเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยทีเดียว

  1. อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท FRONTADJUSTABLE Style

สำหรับอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ จะมีความเหมือนหรือคล้ายกับประเภทที่ 1 โดยมีรูปทรงคล้ายกับเสื้อแจ็คเก็ต  เพียงแต่ FRONT-ADJUSTABLE Style นี้ จะมีถุงลมอยู่แค่เพียงบริเวณด้านหน้าของลำตัวเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับการคิดค้นต่อยอดขึ้นมาจากประเภทที่ 1 ทำให้สามารถปรับขนาดและรูปทรงให้เข้ากับสรีระผู้ใช้งานได้มากขึ้นนอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันจากผู้ใช้งานจริง เป็นเสียงเดียวกันว่า อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท FRONT-ADJUSTABLE Style นั้น มีความเบาบาง และ สามารถควบคุมการลอยตัวได้เสถียรกว่าแบบแรก เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

  1. อุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท Back Mounted หรือ Wing Style

สำหรับอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภทนี้ มีรูปแบบตรงกันข้ามกับในประเภทที่ 2 นั่นก็คือ จะมีถุงลมที่ช่วยในการลอยตัวเฉพาะบริเวณด้านหลังของตัว BCD ที่สวมใส่ นั่นเอง โดย จุดแข็งของอุปกรณ์ควบคุมการลอยตัวประเภท Back Mounted หรือ Wing Style นี้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเบาสบาย ทั้งยังรู้สึกคล่องตัวเมื่อเคลื่อนที่ใต้น้ำมากกว่าแบบอื่น ๆ อีกด้วย