Archives 16 ธันวาคม 2020

เส้นทางท้าความตาย Yak Attack

เส้นทางท้าความตาย Yak Attack

สำหรับมนุษย์นั้น อะไรที่ยิ่งยากก็เหมือนยิ่งท้าทาย อะไรที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้ก็ยิ่งอยากเอาชนะ และยิ่งในวงการกีฬาที่มีเนื้อหาสำคัญคือการเอาชนะด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีการพยายามทำลายสถิติของคู่แข่งกันอยู่ตลอดเวลา แต่สำหรับการแข่งขันจักรยานในรายการ Yak Attack นั้นแค่เข้าเส้นชัยโดยที่ไม่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตก็นับว่าชนะแล้วเพราะว่ากันว่าเป็นเส้นทางที่ท้าความตายเป็นอย่างมากก็จริงอยู่ว่าถึงแม้ในการแข่งขันรายการนี้จะยังไม่มีนักปั่นคนใดเสียชีวิตแต่ดูเส้นทางแล้วก็มีโอกาศสูงในอนาคตที่จะเกิดขึ้น

เส้นทางท้าความตาย Yak Attack

การแข่งขันจักรยานรายการ Yak Attack นั้นมีระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 400 กิโลเมตร ต้องปั่นข้ามเทือกเขาหิมาลัย ที่มีความสูงถึง 12,000 เมตร ส่วนจุดสูงที่สุดของนักปั่นที่ไปถึงนั้นอยู่ที่ 5,000 จากระดับน้ำทะเล แถมยังมีอากาศที่หนาวเหน็บเย็นยะเยือกที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 15-30 องศาเซลเซียส แต่ก็มีความปลอดภัยในระดับหนึ่งเพราะมีทีมกู้ภัยคอยบินสำรวจด้วยเฮลิคอปเตอร์ตลอดการแข่งขัน

เนลคอตแทมนักปั่นจักรยานเสือภูเขาชาวอังกฤษที่เคยลงแข่งในรายการนี้มาแล้วและสามารถเข้าเส้นชัยมาแล้วหลายครั้งได้เล่าถึงการแข่งขันจักรยานรายการนี้ว่าร่างกายของนักปั่นนั้นจะต้องพร้อมที่สุดเพราะจะต้องเจอทุกสภาพอากาศที่แสนจะทรมานไม่ว่าจะเป็นอากาศที่หนาวสุดขั้วอากาศร้อนสุดขีด  และสภาพเส้นทางที่แสนจะโหดไม่ว่าจะเป็นการไต่ความสูงขึ้นเขาต้องเจอกับฝุ่นกินหินดินทรายบ่อโคลนแม่น้ำที่ขวางกันธารน้ำแข็งรวมไปถึงสัตว์ป่าหลายอย่างเช่นวัว

ความโหดต่างๆจึงทำให้การแข่งขันรายการนี้จึงถูกยกให้เป็นสนามเสือภูเขาที่ยากที่สุดในโลกเพราะไม่ได้วัดแค่ความแข็งแรงของร่างกายเท่านั้นยังเป็นการพิสูจน์หัวจิตหัวใจไหวพริบประสบการณ์ของนักปั่นมืออาชีพที่ร่วมทำการแข่งขันที่ต้องใช้ทุกอย่างที่มีเพื่อเอาตัวรอดจากเทือกเขาหิมาลัยให้ได้นั่นเอง

นักปั่นเสื้อภูเขาที่ร่วมการแข่งขัน Yak Attack จะได้รับบททดสอบอันหนักหน่วง จะไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เหมือนรายการอื่น เพราะที่นั่นจะเป็นพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลความเจริญ มีเพียงอาหารที่เพียงพอสำหรับร่างกายในแต่ละมื้อและสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นก็จะมีเพียงเส้นทางที่แสนโหดแต่ท้าทาย จักรยานของนักปั่น ความอ่อนล้าที่เกาะกินทุกส่วนของร่างกายที่ค่อย ๆเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆในทุกวัน อาการป่วย และออกซิเจนที่เบาบางลงเมื่อปั่นไปยังที่สูงขึ้น ซึ่งหากใครผ่านการแข่งขันนี้ไปได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากแล้ว

 

# นักปั่นชาวดัตช์ โดนแบน 9 เดือน หลังเจตนาเบียดคู่แข่งล้ม

เทคนิคการปีนหน้าผาโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากมาย

เทคนิคการปีนหน้าผาโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากมาย

เชื่อว่าหลายๆคนที่มาปีนเขาอาจจะรู้สึกว่าทำไมการปีนเขานี่มันใช้พลังงานเยอะจังเลย ปีนได้ไม่กี่รอบก็เรื่อยรู้สึกเหนื่อยล้า จนปีนต่อไม่ไหวแล้ว เพราะใช้ทั้งพลังแขน ขา เอวอย่างเต็มที่ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำเทคนิคดีๆให้คุณทราบเกี่ยวกับวิธีการปีนหน้าผาจำลองมาฝากกันนะคะว่าปีนยังไงให้ไม่เหนื่อยไม่เมื่อยง่าย เพื่อที่คุณจะได้สามารถเก็บแรงเอาไว้ปีนกันได้ทั้งวันเลยทีเดียว

เทคนิคการปีนหน้าผาโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากมาย

การยืดแขนให้ตึง

สำหรับเทคนิคการยึดแขนให้ตึงนั้นจะเป็นการผ่อนแรงการใช้กล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี เพราะหากคุณยืดแขนจนตึงสุดนั่นหมายว่าส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกายคุณจะกลายเป็นกระดูกของคุณไม่ใช่กล้ามเนื้อ เพราะคุณทราบไหมว่าการงอแขนแค่เพียงเล็กน้อยนั้นก็หมายความว่าคุณใช้การเกร็งกล้ามเนื้อและออกแรงกล้ามเนื้อเพื่อที่จะรับน้ำหนักทั้งร่างกายของคุณแล้ว เพราะฉะนั้นจังหวะไหนที่สามารถยืดแขนให้ตรงจนสุดได้ก็ทำเช่นนั้นจะดีกว่านะคะ

เทคนิคการปีนหน้าผาโดยไม่ต้องใช้พลังงานมากมาย

ตำแหน่งของสะโพก

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณรู้สึกได้ถึงความเหนื่อยเมื่อยล้าเลยก็คือการวางตำแหน่งสะโพกที่ไม่ถูกตรง หากใครที่เพิ่งเริ่มต้นปีนหน้าผาจะสามารถเห็นได้ชัดเลยว่าจะงอลำตัว และให้สะโพกตั้งฉากกับกำแพง นั่นเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนะคะเพราะกลายที่คุณงอตัวให้สะโพกตั้งฉากกับกำแพงจะทำให้เป็นการเพิ่มน้ำหนักที่มากขึ้นด้วย เป็นผลพวงให้คุณจะต้องใช้กำลังแขน ขา มากขึ้นกว่าเดิมเป็นเท่าตัว เราแนะนำให้คูรวางตำแหน่งสะโพกให้ขนานกับกำแพงไว้จะดีกว่านะคะ

วางสะโพกให้ชิดกำแพง

การที่คุณวางสะโพกของคุณฬห้ชิดกำแพงนั้นนอกจากจะทำให้ไหล่และทั้งตัวของคุณชิดกำแพงได้มากขึ้นแล้วก็ส่งผลให้จังหวะการเอื้อม Holds ข้างบนก็เป็นไปได้ง่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้คุณไม่ต้องออกแรงเหวี่ยงตัวเหวี่ยงแข่งขึ้นไป แม้กระทั่งการวางสะโพกชิดกำแพงเอนลำตัวส่วนบนออกมานอกกำแพง เพื่อให้มือที่จับ Hold ได้ยืดจนสุดเพื่อจะพักกล้ามเนื้อแขนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

พยายามใช้สายตาตลอดเวลา

การวางแผนการปีนไว้ล่วงหน้านั้นนับได้ว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาด จงอย่าหยุดใช้สายตา ให้คุณมองขึ้นไปข้างบนตลอดเวลาเพื่อหา Hold ที่จะจับต่อไป เพื่อที่คุณจะได้ทราบตำแหน่งมือและเท้าโดยที่ไม่ต้องมองทีละ Step ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณสามารถปีนขึ้นไปได้อย่างว่องไวมากยิ่งขึ้น จะได้ลงมาพักได้ไวๆ และไม่ต้องคอยลองผิดลองถูกกับ Holds อื่นๆอีกด้วย

ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่สามารถพักได้จงพัก

หากคุณอยู่ใน Position ที่สามารถพักแขน พักขาของคุณได้ก็อย่ารอช้า จงคว้าโอกาสนั้นเอาไว้สะ เพราะว่าการที่เอาแต่ปีนๆอย่างเดียวโดยไม่พักอาจจะทำให้หมดแรงระหว่างทางโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการพักนั้นนอกจากคุณจะได้ฟื้นฟูกล้ามเนื้อแล้ว ก็ยังสามารถมองขึ้นไปข้างบนเพื่อวางแผนการปีนระหว่างที่พักได้อีกด้วย

 

# ชายชาวจีนทำลายสถิติข้ามหุบเขาที่มีแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก